Loading...

หลักสูตรปริญญาตรี

หลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาตร์สุขภาพ โดยประกอบด้วยหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรทวิภาษา และหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษ ได้แก่ หลักสูตรสองปริญญา (Double Degree) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการเรียนการสอนร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หลักสูตรสองวิชาเอก (Double Major) และหลักสูตรปริญญาตรีควบโท ซึ่งใช้เวลาเรียนเพียง 5 ปี เพื่อรับวุฒิปริญญาโท ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่เสริมสร้างการเป็นบัณฑิตยุคสมัยใหม่ ในด้านกระบวนการทางความคิดและทักษะการเรียนรู้ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ รวมถึงมีวิชาให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ

View by Categories

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

     วิศวกรคอมพิวเตอร์มีบทบาทโดยตรงต่อการออกแบบพัฒนา และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และโครงข่าย อันเป็นรากฐานสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของชาติ

    แนวทางการประกอบอาชีพ
    1. วิศวกรคอมพิวเตอร์
    2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
    3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
    4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมประยุกต์
    5. นักวิเคราะห์ และจัดการข้อมูลเชิงคอมพิวเตอร์
    6. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย และเครื่องแม่ข่าย
    7. ผู้จัดการซอฟต์แวร์
    8. ผู้จัดการโครงการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    9. ผู้บริหารหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
   10. ตำแหน่งงานอื่นๆ ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นตามองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความสามารถในการนำหลักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ไปใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และตรงกับความต้องการ ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนด

     แนวทางการประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)
     2. นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
     3. วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)
     4. นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
     5. วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
     6. นักทดสอบระบบ (Software Tester)
     7. สถาปนิกซอฟต์แวร์ (Software Architect)
     8. นักบูรณาการระบบ (System Integrator)
     9. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (นานาชาติ)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์ เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านเครื่องกล และเน้นศึกษาระบบการทำงานของยานยนต์ ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบและพัฒนาทางด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น การคำนวณกำลังเครื่องยนต์ การเลือกใช้วัสดุในชิ้นส่วนยานยนต์ กระบวนการผลิตและการทดสอบ มีการผสมผสานการเรียนทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและการวิเคราะห์ทางด้านยานยนต์

แนวทางประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรรมยานยนต์ โดยสามารถทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ การออกแบบระบบในยานยนต์ และการควบคุมกระบวนการผลิตยานยนต์ เป็นต้น
     2. วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้
     3. นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ หรือ วิศวกรรมเครื่องกล
     4. ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมอุตสาหการ (อังกฤษ: Industrial Engineering) เป็นวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม การวิจัยดำเนินงาน จัดการและประเมินผลระบบโดยรวมซึ่งครอบคลุมปัจจัยทุกๆ ด้านทั้ง บุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ รวมไปถึง การเงิน (ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/วิศวกรรมอุตสาหการ)

     วิศวกรรมอุตสาหการเป็นงานทางด้านการประยุกต์ที่ใช้หลักการและวิธีการทางด้านการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมรวมถึงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาด การบริหารการจัดการ สารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา

     ลักษณะงานของวิศวกรอุตสาหการ จะเกี่ยวข้องกับ การลดเวลาการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย วัสดุ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ รวมไปถึงงานการควบคุมคุณภาพของการผลิตหรือการดำเนินงานเพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยหากลวิธีต่างๆ ในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุ้มค่าที่สุด

     ตัวอย่างของวิชาในสาขาวิศวกรรมอุสาหการ ได้แก่ การศึกษาวิธีการทำงาน  การวิจัยดำเนินงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต  การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุศาสตร์ กรรมวิธีการผลิต การควบคุมคุณภาพ ระบบการผลิตอัตโนมัติ การยศาสตร์ วิศวกรรมการบำรุงรักษา วิศวกรรมความปลอดภัย การจัดการทางวิศวกรรม โลจิสติกส์และซัพพลายเซน

   แนวทางประกอบอาชีพ
    1. วิศวกรโรงงานด้านการวางแผนและควบคุมการผลิต
    2. วิศวกรโรงงานด้านการควบคุมคุณภาพการผลิต
    3. วิศวกรโรงงานด้านการออกแบบกระบวนการผลิต
    4. ผู้จัดการคลังพัสดุ
    5. ผู้จัดการโรงงาน
    6. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
    7. พนักงานราชการ
    8. นักวิจัย และอาจารย์
    9. ผู้ประกอบการ

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (นานาชาติ)

          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ด้านการออกแบบพัฒนา ด้านกระบวนการผลิต ด้านการบริหารจัดการระบบการผลิต ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้เป็นวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหาระบบการผลิตตลอดจนการปรับปรุงผลิตภาพในอุตสาหกรรม เป็นผู้มีทักษะภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นวิศวกรที่มีขีดความสามารถทัดเทียมและสามารถทำงานได้ในระดับสากล

แนวทางประกอบอาชีพ
     (1) วิศวกรในส่วนต่าง ๆ ภาคการผลิต
     (2) วิศวกรในส่วนต่าง ๆ ภาคการบริการ
     (3) ผู้วิจัย หรือ ผู้ช่วยวิจัย
     (4) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
     (5) งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
     (6) งานทางด้านการเงิน
     (7) งานทางด้านการวางแผนการผลิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (สองสถาบัน สองปริญญา)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ด้านการออกแบบพัฒนา ด้านกระบวนการผลิต ด้านการบริหารจัดการระบบการผลิต ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้เป็นวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหาระบบการผลิตตลอดจนการปรับปรุงผลิตภาพในอุตสาหกรรม เป็นผู้มีทักษะภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นวิศวกรที่มีขีดความสามารถทัดเทียมและสามารถทำงานได้ในระดับสากล

แนวทางประกอบอาชีพ
     (1) วิศวกรในส่วนต่าง ๆ ภาคการผลิต
     (2) วิศวกรในส่วนต่าง ๆ ภาคการบริการ
     (3) ผู้วิจัย หรือ ผู้ช่วยวิจัย
     (4) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
     (5) งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
     (6) งานทางด้านการเงิน
     (7) งานทางด้านการวางแผนการผลิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

        วิศวกรรมเคมีในปัจจุบันนั้นนอกจากจะต้องศึกษาการออกแบบโรงงานผลิตสารเคมีและกระบวนการผลิตต่างๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องเข้าใจความสำคัญและประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสมบัติพิเศษแตกต่างไปจากการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีทั่วๆ ไปอีกด้วย ดังนั้นหลักสูตรในปัจจุบันจึงเน้นที่การบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งวิชาในภาควิชาวิศวกรรเคมีและภาควิชาอื่นๆ ในคณะ ตลอดจนวิชานอกคณะที่จำเป็นต่างๆ รวมถึงการให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านตัวอย่างต่างๆ ในการเรียนการสอนวิชาบังคับและวิชาเลือกที่มีความยืดหยุ่นพอนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

     แนวทางการประกอบอาชีพ
      1. อาชีพที่ทำงานในกระบวนการผลิต เช่น  วิศวกรผลิต  วิศวกรกระบวนการ  และ วิศวกรควบคุมคุณภาพ
      2. อาชีพที่ทำงานด้านงานขาย งานการตลาด  งานบริการเทคนิค  ในบริษัทการขายผลิตภัณฑ์เคมีและอุปกรณ์สำหรับโรงงาน
      3. อาชีพที่ทำงานสายวิชาการ เช่น  งานวิจัยและพัฒนา  งานอาจารย์  เป็นต้น
      4. อาชีพที่ทำงานโครงการ ได้แก่  วิศวกรโครงการ  สำหรับบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงงานและบริษัทที่เป็นผู้รับเหมา
      5. อาชีพที่ทำงานทางด้านการพัฒนาธุรกิจ เช่นหน่วยงานด้านงานวางแผน  งานวิเคราะห์  งานประเมินความเสี่ยงงานพัฒนาธุรกิจเพื่อกำหนดนโยบายขององค์กรหรือทิศทางในการขยายกิจการ

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)

          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          - การออกแบบอุปกรณ์ โรงงาน และระบบควบคุม
          - กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ควบคู่กับหลักเศรษฐศาสตร์ทั้งในด้านวิศวกรรมเคมีพื้นฐาน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
          - การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์

แนวทางประกอบอาชีพ
   1. อาชีพที่ทำงานในกระบวนการผลิต เช่น วิศวกรผลิต วิศวกรกระบวนการ และวิศวกรควบคุมคุณภาพ
   2. อาชีพที่ทำงานด้านงานขาย งานการตลาด งานบริการเทคนิค
   3. อาชีพที่ทำงานสายวิชาการ
   4. อาชีพที่ทำงานโครงการ ได้แก่ วิศวกรโครงการ
   5. อาชีพที่ทำงานทางด้านการพัฒนาธุรกิจ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (สองสถาบัน สองปริญญา)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     - การออกแบบอุปกรณ์ โรงงาน และระบบควบคุม
     - กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ควบคู่กับหลักเศรษฐศาสตร์ทั้งในด้านวิศวกรรมเคมีพื้นฐาน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
     - การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์

แนวทางประกอบอาชีพ
    1. อาชีพที่ทำงานในกระบวนการผลิต เช่น  วิศวกรผลิต  วิศวกรกระบวนการ  และวิศวกรควบคุมคุณภาพ
    2. อาชีพที่ทำงานด้านงานขาย งานการตลาด  งานบริการเทคนิค
    3. อาชีพที่ทำงานสายวิชาการ
    4. อาชีพที่ทำงานโครงการ ได้แก่  วิศวกรโครงการ 
    5. อาชีพที่ทำงานทางด้านการพัฒนาธุรกิจ 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

    เนื่องจากวิศวกรรมเครื่องกลเป็นสาขาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาการหลายแขนง บัณฑิตนอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและมีทักษะในภาคปฏิบัติเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งที่เป็นวิศวกรและบุคคลในวิชาชีพอื่นได้เป็นอย่างดีด้วย  ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน และเน้นการบูรณาการความรู้ต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการทำงานเป็นกลุ่ม โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ  

    แนวทางการประกอบอาชีพ
    1. วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต
    2. วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริหาร
    3. ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย
    4. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
    5. งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
    6. งานทางด้านการวางแผนการผลิต

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (นานาชาติ)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ  โดยศึกษาการออกแบบและการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ   เครื่องจักรอุปกรณ์ยานยนต์   และระบบทางพลังงาน   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน   โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น   "Practical Engineer"   ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ   ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่จะช่วยในการสื่อสารกับผู้ร่วมงานต่างชาติ เสริมสร้างความเป็นนานาชาติและเบิกช่องทางการเติบโตของหน่วยงาน  โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมพลังงาน   วิศวกรรมยานยนต์   วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติ   วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกลและ   ระบบทางอาคาร   (เช่น   ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อระบบขนส่ง ฯลฯ)

แนวทางประกอบอาชีพ
     1.วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต
     2. วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริหาร
     3. ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย
     4. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
     5. งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
     6. งานทางด้านการวางแผนการผลิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (สองสถาบัน สองปริญญา)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ  โดยศึกษาการออกแบบและการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ   เครื่องจักรอุปกรณ์ยานยนต์   และระบบทางพลังงาน   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน   โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น   "Practical Engineer"   ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ   ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่จะช่วยในการสื่อสารกับผู้ร่วมงานต่างชาติ เสริมสร้างความเป็นนานาชาติและเบิกช่องทางการเติบโตของหน่วยงาน  โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมพลังงาน   วิศวกรรมยานยนต์   วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติ   วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกลและ   ระบบทางอาคาร   (เช่น   ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อระบบขนส่ง ฯลฯ)

แนวทางประกอบอาชีพ
     1.วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต
     2. วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริหาร
     3. ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย
     4. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
     5. งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
     6. งานทางด้านการวางแผนการผลิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์

     สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการผลิตยานยนต์ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการเป็น บัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง สำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ

     แนวทางประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์
     2. วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสายการประกอบยานยนต์
     3. วิศวกรในสถาบันหรือหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพยานยนต์
     4. ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว ธุรกิจด้านยานยนต์
     5. นักวิชาการ นักวิจัยหรือรับราชการในกรมขนส่งทางบก การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

       สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทำให้ความต้องการวิศวกรที่มีคุณภาพเข้าไปทำงานในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมโยธาที่เป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบันที่มีกระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรี เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความท้าทายได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ทำให้การพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาในสาขาวิศวกรรมโยธาและประสงค์จะไปประกอบวิชาชีพในโลกอนาคตที่มีความท้าทาย การปรับปรุงหลักสูตรนอกจากจะเน้นการเสริมสร้างทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพแล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตให้รองรับตลาดแรงงานที่ขยายตัวในระดับสากลอีกด้วย ดังนั้น หลักสูตรที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่นี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

      แนวทางการประกอบอาชีพ
      1. วิศวกร
      2. นักวิชาการ
      3. นักวิจัย
      4. ที่ปรึกษาโครงการ
      5. ผู้บริหารโครงการ

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (นานาชาติ)

       หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต ให้เป็นวิศวกรโยธา ที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น บ้าน อาคารสูง ถนน สะพาน ระบบราง สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ระบบชลประทาน ระบบระบายน้ำ และระบบประปา เป็นต้น ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ (อาทิ อุทกภัย ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว เป็นต้น) เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ ให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมีความเป็นอยู่สะดวกสบาย

แนวทางประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง ในบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
     2. ผู้บริหารโครงการทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
     3. เจ้าของกิจการบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และวิศวกรที่ปรึกษา
     4. อื่นๆ ที่ประยุกต์ความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สองสถาบัน สองปริญญา)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต ให้เป็นวิศวกรโยธา ที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น บ้าน อาคารสูง ถนน สะพาน ระบบราง สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ระบบชลประทาน ระบบระบายน้ำ และระบบประปา เป็นต้น ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ (อาทิ อุทกภัย ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว เป็นต้น) เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ ให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมีความเป็นอยู่สะดวกสบาย

แนวทางประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง ในบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
     2. ผู้บริหารโครงการทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
     3. เจ้าของกิจการบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และวิศวกรที่ปรึกษา
     4. อื่นๆ ที่ประยุกต์ความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและบริหารการก่อสร้าง (EBM)

      โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจเป็นการบูรณาการและเชื่อมต่อองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และพาณิชย์ศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยการที่ยังคงองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมไว้ในขณะเดียวกันหลักสูตรได้จัดให้มีวิชาทางพาณิชยศาสตร์ที่เป็นความรู้ที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพและเป็นรากฐานที่จำเป็นให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีมีความพร้อมในการรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปทางด้านพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาโทด้วย
 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

         ประเทศไทยมีความเจริญด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ  มากขึ้น  ซึ่งมีความต้องการวิศวกรไฟฟ้าที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเทคโนโลยีและพลังงานใช้เองภายในประเทศ  วิศวกรที่จบจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยตนเอง  มีความมั่นในจริยธรรมอันดีงาม มีจรรยาบรรณของวิศวกร มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ  และการบริหารจัดการทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถทำงานในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

         แนวทางการประกอบอาชีพ
         1. วิศวกรไฟฟ้า
         2. นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
         3. ผู้จัดการโครงการ
         4. ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (สองสถาบัน สองปริญญา)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้า หลักการพื้นฐาน การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างอุปกรณ์ ทั้งสำหรับระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าสื่อสาร โดยจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยเป็นหลัก เนื้อหาหลักของหลักสูตรจะครอบคลุมพื้นฐานสำคัญของวิศวกรรมไฟฟ้า อันได้แก่ วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบดิจิทัล เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบควบคุม ฯลฯ และวิทยาการขั้นสูง อันได้แก่ การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า โรงไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง การสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารทางแสง วิศวกรรมสายอากาศ ฯลฯ โดยมีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตซึ่งเข้าใจพื้นฐานอย่างถ่องแท้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และวิจัยต่อยอดนวัตกรรมอันทันสมัยได้ 

แนวทางประกอบอาชีพ
     การวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อีเล็กทรอนิคส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย ความประหยัดของสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเกี่ยวกับการใช้งาน การตรวจสอบวัสดุสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ ระบบดังกล่าวด้วย 

 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (นานาชาติ)

     หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้า หลักการพื้นฐาน การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างอุปกรณ์ ทั้งสำหรับระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าสื่อสาร โดยจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยเป็นหลัก เนื้อหาหลักของหลักสูตรจะครอบคลุมพื้นฐานสำคัญของวิศวกรรมไฟฟ้า อันได้แก่ วงจรไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบดิจิทัล เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบควบคุม ฯลฯ และวิทยาการขั้นสูง อันได้แก่ การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า โรงไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง การสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารทางแสง วิศวกรรมสายอากาศ ฯลฯ โดยมีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตซึ่งเข้าใจพื้นฐานอย่างถ่องแท้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และวิจัยต่อยอดนวัตกรรมอันทันสมัยได้ 

แนวทางประกอบอาชีพ
     การวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อีเล็กทรอนิคส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย ความประหยัดของสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเกี่ยวกับการใช้งาน การตรวจสอบวัสดุสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ ระบบดังกล่าวด้วย 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอุตสาหการ (iPen-iee)

     สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอุตสาหการ (iPen-iee) หลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจในระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการและระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม และมีความเข้าใจถึงระบบการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสมลักษณะพิเศษที่มุ่งพัฒนาให้มีขึ้นในตัวของนักศึกษา มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและมีทักษะด้านการจัดการทางอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และพัฒนาศักยภาพบัณฑิตผ่านการดูงานและบรรยายพิเศษ เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม

     แนวทางการประกอบอาชีพ
     1. วิศวกรไฟฟ้าหรือวิศวกรอุตสาหการ
     2. นักวิจัย นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ
     3. ผู้จัดการโครงการ
     4. ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอุตสาหการ